เมนู

อตสิตาเย ได้แก่ ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้งคือไม่ควรกลัว. บทว่า
ตาสํ อาปชฺชติ แปลว่า ย่อมถึงความกลัว. บทว่า ตาโส เหโส ความว่า
เพราะวิปัสสนาอย่างอ่อนที่เป็นไปอย่างนี้ว่า โน จสฺสํ โน จ เม สิยา
นี้นั้นไม่สามารถจะยึดครองความรักในตนได้ ฉะนั้นปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
จึงชื่อว่า มีความสะดุ้ง เพราะเขาคิดว่า บัดนี้เราจักขาดสูญ เราจักไม่มี
อะไรๆ จึงเห็นตนเสมือนตกไปในเหว เหมือนพราหมณ์คนหนึ่ง.
เล่ากันมาว่า พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก สวดพระธรรม
เนื่องด้วยไตรลักษณ์อยู่ใต้โลหะปราสาท. ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่ง
กำลังยืนฟังธรรมอยู่ในที่แห่งหนึ่ง สังขารได้ปรากฏเป็นของว่างเปล่า.
เขาเป็นเสมือนตกไปในเหว หนีออกจากที่นั้นทางประตูที่เปิดไว้
เข้าเรือนแล้วให้ลุกนอนบนอก กล่าวว่า พ่อ เมื่อเรานึกถึงลัทธิของตน
เป็นอันฉิบหายแล้ว. บทว่า น เหโส ภิกฺขุ ตาโส ความว่า วิปัสสนาที่มี
กำลังนั้นคือที่เป็นไปอย่างนั้น ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นความสะดุ้งสำหรับ
พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ความจริงเขามิได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญ
หรือจักพินาศ แต่เขามีความคิดอย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
และย่อมดับไป.
จบ อรรถกถาอุทานสูตรที่ 3

4. ปริวัฏฏสูตร



ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ 4



[112] กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน ?